ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) 

เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่

1. ความรู้ความจำ(Knowladge)  เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
ตัวอย่างขอสอบ
พระรัตนตรัย หมายถึงอะไร
ก. แก้วสามใบ
ข. แก้วสามประการ
ค. กฏสามข้อ
ง. ข้อ ก. และ ข.

2. ความเข้าใจ(Comprehenion) เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
 ตัวอย่างขอสอบ
พระรัตนตรัยประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ข. พระพุทธ พระธรรม พระวินัย 
ค. พระธรรม พระวินัย พระสงฆ์
ง. ไม่มีข้อถูก

3. การนำความรู้ไปใช้(Application)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ 
ตัวอย่างขอสอบ
ใครปฏิบัติตามศีล 5 ได้อย่างถูกต้อง
ก. กายชอบรังแกเพื่อน
ข. นนท์ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่
ค. ชัชโกหกแม่เพื่อไปเล่นเกม
ง. บอลแอบขโมยดินสอปากกาเพื่อนประจำ

4. การวิเคราะห์(Analysis)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน 
ตัวอย่างขอสอบ
นายเอกยิงนกตกต้นไม้แล้วนำมาทรมาน แสดงว่านายเอกทำผิดศีลข้อใด
ก. ข้อ 4
ข. ข้อ 3
ค. ข้อ 2
ง. ข้อ 1

5. การสังเคราะห์(Synthesis)  ขั้นนี้เป็นความสามารถในการที่ผสมผสานย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
 ตัวอย่างขอสอบ
หากนักเรียนเจอกระเป๋าสตางค์หล่นที่พื้นควรทำอย่างไร
ก. เก็บขึ้นมาแล้วเอาเงินไปใช้
ข. นำไปแบ่งกับเพื่อนๆ
ค. นำไปแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อตามหาเจ้าของ
ง. ตามหาเจ้าของแล้วขอส่วนแบ่ง

6. การประเมินค่า(Evaluation)  เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
ตัวอย่างขอสอบ
นายเขียวดื่มเหล้าในงานบวชคนข้างบ้าน มีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. เหมาะสม เพราะ ในงานมีเหล้าแจกฟรี
ข. เหมาะสม เพราะ ใส่ซองไปแล้วควรได้สิ่งตอบแทน
ค. ไม่เหมาะสม เพราะ ทำผิดศีลธรรม
ง. ไม่เหมาะสม เพราะ ต้องไปดื่มนอกงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น