Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
กับ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา
เรื่องย่อ Inside Out
การเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และมันก็เป็นเช่นนั่น เมื่อ “ไรลีย์” เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลางต้องย้ายมายังซานฟรานซิสโก ตามพ่อของเธอที่ได้รับการเสนองานใหม่ … เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ต่างๆของเธอไม่ว่าจะเป็น ความสุข (เอมี่ โพเลอร์), ความกลัว (บิล เฮเดอร์), ความโกรธ (ลิววิส แบล็ค), ความน่ารังเกียจ (มินดี้ คาร์ลลิ่ง) หรือ ความเศร้า (ฟิลลิส สมิธ) อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์ควมคุมส่วนกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้
เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองใหม่แห่งนี้
สิ่งที่ได้หลังจากดูภาพยนตร์เรื่องนี้
อารมณ์และความรู้สึก 5 อย่าง
- ความสุข
- ความกลัว
- ความโกรธ
- ความรังเกียจ
- ความเศร้า
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม หรือเริ่มกระทำก่อน
เหมือนกับตอนที่ไรลีย์เกิดและเป็นเด็ก ไรลีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดแล้อม โดยมีการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆของร่างกายและประสาทสัมผัส เมื่อไรลีย์ อายุได้ 11 ปี ก็เริ่มมีความคิดและมีอารมณ์ต่างๆมากขึ้น
เพียเจต์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม หรือเริ่มกระทำก่อน
เหมือนกับตอนที่ไรลีย์เกิดและเป็นเด็ก ไรลีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดแล้อม โดยมีการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆของร่างกายและประสาทสัมผัส เมื่อไรลีย์ อายุได้ 11 ปี ก็เริ่มมีความคิดและมีอารมณ์ต่างๆมากขึ้น
2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา เรียกว่า การเรียนรู้โดยการค้นพบ
เหมือนกับไรลีย์อยู่ที่มินิโซต้า ที่นั่นมีหิมะตก อากาศหนาว และเป็นน้ำแข็ง เธอจึงได้เล่นฮอกกี้ และชอบกีฬาชนิดนี้ เมื่อไรลีย์ย้ายมาอยู่สถานที่ใหม่กับเพื่อนใหม่ ไรลีย์ต้องเล่นฮอกกี้อีกครั้ง ในใจก็เกิดความกลัว ลั้นลาจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการเอาภาพความทรงจำที่ดีตอนเล่นฮอกกี้กับเพื่อนที่บ้านเก่า เพื่อให้ไรลีย์มีความสุขกับการเล่นฮอกกี้อีกครั้ง
บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา เรียกว่า การเรียนรู้โดยการค้นพบ
เหมือนกับไรลีย์อยู่ที่มินิโซต้า ที่นั่นมีหิมะตก อากาศหนาว และเป็นน้ำแข็ง เธอจึงได้เล่นฮอกกี้ และชอบกีฬาชนิดนี้ เมื่อไรลีย์ย้ายมาอยู่สถานที่ใหม่กับเพื่อนใหม่ ไรลีย์ต้องเล่นฮอกกี้อีกครั้ง ในใจก็เกิดความกลัว ลั้นลาจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการเอาภาพความทรงจำที่ดีตอนเล่นฮอกกี้กับเพื่อนที่บ้านเก่า เพื่อให้ไรลีย์มีความสุขกับการเล่นฮอกกี้อีกครั้ง
3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนเห็นความสำสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่เก็บไว้ในความทรงจำและจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่หรือข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้ว
ทฤษฎีนี้สอดคล้องกับความทรงจำของไรลีย์ ที่เรียนรู้สิ่งต่างๆในแต่ละช่วงวัยต่างๆ เมื่อเธอพบเจอสิ่งเหล่านั้นหรือต้องการนำมาใช้อีกครั้ง เธอก็จะสามารถนึกภาพแล้วเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบันได้
ทฤษฎีนี้สอดคล้องกับความทรงจำของไรลีย์ ที่เรียนรู้สิ่งต่างๆในแต่ละช่วงวัยต่างๆ เมื่อเธอพบเจอสิ่งเหล่านั้นหรือต้องการนำมาใช้อีกครั้ง เธอก็จะสามารถนึกภาพแล้วเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น