ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 
กับ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา


เรื่องย่อ Inside Out
          การเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และมันก็เป็นเช่นนั่น เมื่อ “ไรลีย์” เด็กหญิงวัย 11 ปี ผู้เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลางต้องย้ายมายังซานฟรานซิสโก ตามพ่อของเธอที่ได้รับการเสนองานใหม่ … เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ต่างๆของเธอไม่ว่าจะเป็น ความสุข (เอมี่ โพเลอร์), ความกลัว (บิล เฮเดอร์), ความโกรธ (ลิววิส แบล็ค), ความน่ารังเกียจ (มินดี้ คาร์ลลิ่ง) หรือ ความเศร้า (ฟิลลิส สมิธ) อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ซึ่งเป็นศูนย์ควมคุมส่วนกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ที่พวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้
เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลวุ่นวายก็คืบคลานมายังศูนย์บัญชาการใหญ่ แม้ ความสุข ซึ่งเป็นอารมณ์หลักและสำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ทว่าเหล่าอารมณ์ทั้งหลายกลับขัดแย้งกันเองในการใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองใหม่แห่งนี้

สิ่งที่ได้หลังจากดูภาพยนตร์เรื่องนี้
อารมณ์และความรู้สึก 5 อย่าง
- ความสุข
- ความกลัว
- ความโกรธ
- ความรังเกียจ
- ความเศร้า

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
          เพียเจต์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม หรือเริ่มกระทำก่อน
          เหมือนกับตอนที่ไรลีย์เกิดและเป็นเด็ก ไรลีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดแล้อม โดยมี
การเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆของร่างกายและประสาทสัมผัส เมื่อไรลีย์ อายุได้ 11 ปี ก็เริ่มมีความคิดและมีอารมณ์ต่างๆมากขึ้น

2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
          บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และการแก้ปัญหา เรียกว่า การเรียนรู้โดยการค้นพบ 

          เหมือนกับไรลีย์อยู่ที่มินิโซต้า ที่นั่น
มีหิมะตก อากาศหนาว และเป็นน้ำแข็ง เธอจึงได้เล่นฮอกกี้ และชอบกีฬาชนิดนี้ เมื่อไรลีย์ย้ายมาอยู่สถานที่ใหม่กับเพื่อนใหม่ ไรลีย์ต้องเล่นฮอกกี้อีกครั้ง ในใจก็เกิดความกลัว ลั้นลาจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการเอาภาพความทรงจำที่ดีตอนเล่นฮอกกี้กับเพื่อนที่บ้านเก่า เพื่อให้ไรลีย์มีความสุขกับการเล่นฮอกกี้อีกครั้ง

3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล
          ออซูเบลได้ให้ความหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนเห็นความสำสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างทางปัญญาที่เก็บไว้ในความทรงจำและจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต การเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่หรือข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้ว
          ทฤษฎีนี้สอดคล้องกับความทรงจำของไรลีย์ ที่เรียนรู้สิ่งต่างๆในแต่ละช่วงวัยต่างๆ เมื่อเธอพบเจอสิ่งเหล่านั้นหรือต้องการนำมาใช้อีกครั้ง เธอก็จะสามารถนึกภาพแล้วเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตกับปัจจุบันได้

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม [Behavioral Theories]

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ

1. พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ และทฤษฎีที่นำมาใชเในการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้เรีบกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
ทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง


แนวคิดของตสัน (Watson)
การเรียนรู้เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมแรง 


2. พฤติกรรมโอเปอร์แรนต์ (Operant Behavior) หมายถึง เป็นพฤติกรรมที่บุคคล หรือสัตว์แสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดด์ (Thorndike)
การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูก ทดลองโดยนำแมวที่กำลังหิวมาขังไว้ในกรงที่มีสลัก จากนั้นนำอาหารวางไว้ข้างนอกกรง แมวจะพยายามหาวิธีออกไปกินอาหาร โดยแมงต้องไปจับถูกสลักเปิดประตู จึงจะออกข้างนอกได้ และครั้งต่อๆไป แมวใช้เวลาน้อยลงในการออกจากกรง


แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ และถ้าได้รับการเสริมแรงจะทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สกินเนอร์ ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Skinner Box โดยการนำหนูมาไว้ในกล่อง ภายในกล่องจะมีคานสำหรับให้อาหารเมื่อหนูวิ่งไปกดคานจะมีเสียง "แครก" อาหารจะตกลงมาให้กิน พอครั้งต่อไปหนูก็กดคานได้เร็วขึ้น และเมื่อวางเงื่อนไขเพื่อให้หนูแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำ สกินเนอร์จึงได้ทดสอบโดยนำหนูเข้าไปในกล่องหลังจากนั้นหนูกดคาน แต่ไม่มีเสียง "แครก" หนูเกิดการเรียนรู้ว่าต้องกดให้เสียงดัง "แครก" เท่านั้นถึงจะได้อาหาร ต่อมาเขาได้ทดลองโดยงดให้อาหาร เมื่อหนูกดคานมีเสียงดัง "แครก" แล้ว แต่อาหารไม่ตกลงมา หนูกดคานซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่ออาหารไม่ตกลงมาหนูก็จะเลิกกด

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

1. MOOCs(Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เพราะอะไร
ตอบ MOOCs เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภท นวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ เป็นการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต


-------------------------------------------------------
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ นวัตกรรมทางการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
         1. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
            ข้อดี มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและตอบสนองความต้องการรายบุคคล         
         2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
            ข้อดี การจัดการเรียนการสอนมีความหลากหลาย ยืดหยุ่น
         3. นวัตกรรมสื่อสารการสอน 
            ข้อดี ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาบทเรียนมากขึ้น
         4. นวัตกรรมการประเมินผล
            ข้อดี วัดและประเมินผล ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
         5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
            ข้อดี ระบบการจัดการฐานข้อมูล มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
                                            
                                                 -------------------------------------------------------
3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงได้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เพราะมีความน่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ทบทวนได้ทุกเวลาที่ผู้เรียนต้องการ จึงสามารถพัฒนาสักยภาพของตนเองได้ตลอดเวลา

                                                 -------------------------------------------------------
4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตอบ เพราะจะได้มีความรุ้ความเข้าใจ และรู้ข้อแตกต่างระหว่าง "นวัตกรรม" กับ "เทคโนโลยี" เพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาได้ถูกต้อง

                                                 -------------------------------------------------------
5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา 1 ประเภท
ตอบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
        ข้อดี 
                1. มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้เรียน
                2. สามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตลอดเวลา
                3. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                4. ผู้เรียนทราบคะแนนหรือผลการเรียนได้ทันที
                5. มีความสะดวกในการเรียนรู้
        ข้อจำกัด
               1. อาจมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ประกอบการเรียน
                 2. ผู้เรียนขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขาดปฏิสัมพันธ์ กับครู และเพื่อน
               3. บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า  จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้  ดังนั้น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
               4. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น