ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม [Behavioral Theories]

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ

1. พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ และทฤษฎีที่นำมาใชเในการอธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้เรีบกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
ทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง


แนวคิดของตสัน (Watson)
การเรียนรู้เกิดจากความใกล้ชิดของสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมแรง 


2. พฤติกรรมโอเปอร์แรนต์ (Operant Behavior) หมายถึง เป็นพฤติกรรมที่บุคคล หรือสัตว์แสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)

แนวคิดของธอร์นไดด์ (Thorndike)
การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูก ทดลองโดยนำแมวที่กำลังหิวมาขังไว้ในกรงที่มีสลัก จากนั้นนำอาหารวางไว้ข้างนอกกรง แมวจะพยายามหาวิธีออกไปกินอาหาร โดยแมงต้องไปจับถูกสลักเปิดประตู จึงจะออกข้างนอกได้ และครั้งต่อๆไป แมวใช้เวลาน้อยลงในการออกจากกรง


แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ และถ้าได้รับการเสริมแรงจะทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สกินเนอร์ ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า Skinner Box โดยการนำหนูมาไว้ในกล่อง ภายในกล่องจะมีคานสำหรับให้อาหารเมื่อหนูวิ่งไปกดคานจะมีเสียง "แครก" อาหารจะตกลงมาให้กิน พอครั้งต่อไปหนูก็กดคานได้เร็วขึ้น และเมื่อวางเงื่อนไขเพื่อให้หนูแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำ สกินเนอร์จึงได้ทดสอบโดยนำหนูเข้าไปในกล่องหลังจากนั้นหนูกดคาน แต่ไม่มีเสียง "แครก" หนูเกิดการเรียนรู้ว่าต้องกดให้เสียงดัง "แครก" เท่านั้นถึงจะได้อาหาร ต่อมาเขาได้ทดลองโดยงดให้อาหาร เมื่อหนูกดคานมีเสียงดัง "แครก" แล้ว แต่อาหารไม่ตกลงมา หนูกดคานซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่ออาหารไม่ตกลงมาหนูก็จะเลิกกด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น